สินค้า OTOP และสินค้าพื้นเมือง

ผ้าไหมมัดหมี่บ้านเขว้า


ประวัติความเป็นมา
 ผ้าไหมมัดหมี่อำเภอบ้านเขว้า โดยเฉพาะตำบลบ้านเขว้า มีประวัติความเป็นมา อันยาวนานเป็นเวลานานเกือบ   200 ปี  ตั้งแต่สมัยเจ้าพ่อพระยาแล  เป็นชุมชนที่มีการทอผ้าไหมที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันมานานในหมู่ผู้นิยมผ้าไหม   และเกิดการเล่าขานแพร่กระจายในกลุ่มนักสะสมผ้าไหม  ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ของตนเองสืบต่อถ่ายทอดกันมาแต่โบราณ
            การทอผ้าไหมมัดหมี่ ชาวบ้านเขว้า ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพชน นานเกือบ 200 ปีนับแต่มีการก่อตั้งชุมชนบ้านเขว้า  เริ่ม จากการทอเพื่อใช้ในครัวเรือน ต่อมาได้เข้าไปมีส่วนร่วมในงานประเพณีต่างๆ เช่น งานแต่งงาน ใช้เป็นเครื่องแต่งกายของเจ้าบ่าว เจ้าสาว ใช้เป็นของไหว้สำหรับญาติฝ่ายชายในงานแต่งงาน งานบวชใช้แต่งตัวนาคและผู้ที่ไปร่วมงาน รวมถึงงานบุญ    งานทาน งานประเพณีต่างๆ ผู้คนจะแต่งกายด้วยผ้าไหม ทั้งหญิงและชาย เป็นการประกวด  ประชันทั้งฝีมือการทอและการตัดเย็บกันไปในที           
             ผ้าไหมของบ้านเขว้า เริ่มเป็นที่รู้จักทั่วไปเมื่อประมาณ พ.ศ.2523 นายถนอม แสงชมภู   นาย อำเภอขณะนั้น ได้นำผ้าไหมส่งศูนย์ศิลปาชีพ สวนจิตรลดา ด้วยคุณภาพของผ้าไหม ลวดลายที่แปลกตา และผีมือที่ปราณีต จึงได้รับความสนใจ มีผู้สั่งทอเป็นจำนวนมาก ต่อมาในปี พ.ศ.2530 ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิในขณะนั้น (ร.ต. สุนัย ณ อุบล รน. :ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ด้านผ้าไหม และผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไหม) ได้ ให้การส่งเสริมการผลิตและได้ส่งผ้าไหมบ้านเขว้าเข้าประกวดที่โครงการศิลปา ชีพ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร ได้รับรางวัลชนะเลิศ หลังจากนั้น ผ้าไหมบ้านเขว้าได้รับการคัดเลือกส่งเข้าประกวดและได้รับรางวัลชนะเลิศเกือบ ทุกปี
             เอกลักษณ์ของลายผ้า  เป็นการสะท้อนความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตของชุมชนที่เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมของชุมชน  ก่อให้เกิดจินตนาการคิดค้นออกมาเป็นลวดลายต่างๆ  บนผืนผ้าถ่ายทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
             การเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์กับภูมิปัญญา มีการสาธิตการผลิตผลิตภัณฑ์และกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการผลิต เช่น  การทอผ้า  การเพนท์ผ้า  การหยอดทอง  เป็นต้น


              ในปี พ.ศ.2545 ในโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์”  ผ้าไหมบ้านเขว้าได้รับการพิจารณาเป็นสินค้าระดับ 5 ดาวของจังหวัดชัยภูมิ และในการประกวดสินค้าOTOP ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ผ้าไหมบ้านเขว้าได้รับรางวัลชนะเลิศของประเทศ ยอดจำหน่ายเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก เห็นได้

หมำ่

“หม่ำ” โอทอปขึ้นชื่อของเมืองชัยภูมิ
        สถานที่ท่องเที่ยวแต่จังหวัดของประเทศไทย ต่างก็มีโอทอปของดี ของฝากขึ้นชื่อให้ได้เลือกซื้อหาติดไม้ติดมือกลับไปฝากคนที่บ้านกันทั้งนั้น อย่างถ้าใครได้มาเที่ยวยังจังหวัดชัยภูมิ แน่นอนว่าก็ต้องไม่พลาดที่จะหาซื้อโอทอปขึ้นชื่ออย่าง “หม่ำ” ซึ่งเป็นอาหารพื้นเมืองของชาวชัยภูมิ ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง อีกทั้งยังมีรสชาติที่อร่อยถูกปาก 

หม่ำเนื้อ(วัว)
        ความเป็นมาของ “หม่ำชัยภูมิ” ที่ได้ชื่อว่า “หม่ำตำนานรัก” แห่งเดียวของประเทศไทยนั้น มีตำนานเล่าขานที่น่าสนใจกล่าวไว้ว่า เมื่ออดีตพรานป่าออกไปล่าสัตว์บนภูเขียว -ภูคิ้ง ซึ่งต้องใช้เวลานาน 1-3 เดือน ในการเดินทางไป-กลับ พอล่าสัตว์ป่าได้ ก็คิดหาวิธีถนอมอาหารมาฝากลูก-เมีย ที่รออยู่บ้าน โดยทำอย่างไรให้เนื้อสัตว์ไม่เน่าเสีย พรานจึงสับเนื้อ ผสมตับ คลุกข้าวเหนียวและเกลือที่พกติดตัวไป แล้วยัดใส่ในกระเพาะของสัตว์ หรือลำไส้ของสัตว์ เพื่อหมักหรือถนอมให้เก็บไว้ได้นาน เพื่อนำไปเป็นของฝากภรรยา พอกลับถึงบ้านนำมาชิม ปรากฏว่ามีรสชาติอร่อย เป็นที่ชอบใจภรรยา จึงถือว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น และเป็นอาหารพื้นบ้านที่นิยมกินสืบมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ - จนถึงปัจจุบันนี้ 
มะม่วงแช่อิ่ม

บ้านโนนม่วง เป็นหมู่บ้านที่มีมะม่วงแก้ว มากเหมือนชื่อหมู่บ้าน บรรพบุรุษในสมัยก่อนจึงทำมะม่วงแช่อิ่มเพื่อเก็บไว้รับประทานในฤดูขาดแคลนจึงเป็นการสืบทอดภูมิปัญญามาจากสมัยบรรพบุรุษสู่รุ่นลูกหลานในปัจจุบัน และพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้มีรสชาด เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมาจนถึงปัจจุบัน

ปลาร้าทรงเครื่อง

 อีสานเป็นภาคที่นิยมรับประทานปลาร้าซึ่งเป็นการถนอมอาหารเพื่อไว้ใช้รับประทานในฤดูขาดแคลน และเพื่อใช้เป็นเครื่องเทศในการประกอบอาหารประกอบประจำภาคโดยเป็นการสืบทอดภูมิปัญญามาจากสมัยบรรพบุรุษ โดยการนำปลาชนิดต่าง ๆ เช่น ปลากระดี่ ปลาหมอ ที่มีขนาดปานกลาง มาหมักไว้ประมาณ1ปีแล้วนำมาแปรรูปเป็นปลาร้าบองเพื่อให้ได้อาหารที่มีรสชาด แปลกใหม่ปรุงรสด้วยสมุนไพร เช่น ข่า ตะไคร้ หอม กระเทียม ใบมะกรูด ทำเก็บไว้ได้นาน และสมุนไพรที่ผสมในปลาร้าบองเป็นผลดีต่อสุขภาพ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น