ทุ่งดอกกระเจียวป่าหินงาม ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอ เทพสถิต จ.ชัยภูมิ ที่นี่นอกจะเป็น ทุ่งดอกกระเจียวถือเป็นไฮไลต์ที่เด่นที่สุดของการมาท่องเที่ยวที่นี่การมาเที่ยวชมที่นี่ นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับทุ่งบัวสวรรค์หรือ ดอกกระเจียว ราชินีแห่งมวลไม้ดอกของขุนเขาป่าหินงาม ออกดอกสีชมพูอมม่วง ที่จะทยอยผลิบานเป็นระยะเวลา 2 เดือน ที่ออกปีละครั้ง ชูช่อล้อสายลมและสายหมอก ขึ้นเต็มทั่วผืนป่า ทุ่งดอกกระเจียว ถือเป็นไฮไลต์ท่องเที่ยวช่วงฤดูฝนแห้งแล้ง จะกลับคืนสู่ความเขียวขจี และแต่งแต้มด้วยความ สดใสของกระเจียวที่ผิดอกสีชมพูเต็มทุ่งหญ้ากว้าง ด้วยความงดงามตระการตาของ ดอกสีชมพูอมม่วงขึ้นเต็มไป ทั่วผืนป่า ตัดกับพื้นสีเขียวขจีของหญ้าเพ็ก และโขดหินธรรมชาติ อีกทั้งรูปลักษณ์สวยงามวิจิตรพิสดาร ทำให้เป็นทุ่งดอกกระเจียวใน อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม เป็นทุ่งดอกกระเจียวที่ใหญ่และงดงามที่สุดในประเทศไทย
การเดินทางมาชมทุ่งดอกกระเจียวที่สวยงามที่สุด คือ ในช่วงเช้าที่มีสายหมอกบางๆ ปกคลุม แต่ถ้าหากมาในช่วง บ่ายที่ฝนเพิ่ง ตกใหม่ๆ ก็จะเจอบรรยากาศแบบนี้ได้เช่นกัน นอกจากนี้การเที่ยวชมเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติทุ่งดอกกระเจียวแล้วยังสามารถชม แหล่งท่องเที่ยว บริเวณข้างเคียงได้อีกด้วย เช่น ป่าหินงาม ซึ่งจะมีก้อนหินรูป ลักษณ์แปลกตา เช่น รูปถ้วยรางวัลฟุตบอลฟีฟ่า รูปดอกเห็ดเขาประตูชุมพล น้ำตกเทพประทาน
เขตรักษาพันธุ์ป่าภูเขียว
มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ป่าในเขตอำเภอคอนสาร เกษตรสมบูรณ์ และหนองบัวแดง มีพื้นที่ประมาณ 1,125,000 ไร่ ดูแลด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า การเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์สัตว์ป่า เช่น ไก่ฟ้าพญาลอ นกยูง เก้ง กวาง และเนื้อทราย เป็นต้นโดยปล่อยสัตว์ให้อาศัยอยู่ในพื้นที่ธรรมชาติ สามารถสืบพันธุ์และขยายพันธุ์ได้เอง ได้มีการจัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติสำหรับผู้สนใจศึกษาธรรมชาติอย่างใกล้ชิด สถานที่น่าสนใจในเขตรักษาพันธุ์ฯ ได้แก่
ทุ่งกระมัง เป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ใจกลางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว แหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์กินพืช เมื่อปี พ.ศ. 2526 และ พ.ศ. 2535โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ปล่อยสัตว์ป่าคืนถิ่นในบริเวณนี้ เช่น เก้ง กวาง กระจง และนกต่าง ๆ มีการจัดทำดินโป่งในบริเวณทุ่งกะมังเพื่อให้สัตว์มากินดินโป่งและเผาแปลงทุ่งหญ้าเพื่อให้เกิดหญ้าระบัดเป็นอาหารของเก้ง กวางในช่วงฤดูแล้ง บนยอดเนินเหนือบริเวณทุ่งกะมัง มีพระตำหนักที่ประทับอยู่เหนืออ่างน้ำ ทุ่งกระมังเปิดให้เข้าชมเวลา 08.00–15.00 น. และจะไม่เปิดให้เข้าทัศนศึกษาตั้งแต่ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมเป็นเวลา 3 เดือน เนื่องจากสภาพพื้นที่ที่อุดมไปด้วยป่าไม้และสัตว์ป่า การเดินทางเข้ามาในพื้นที่ก็เสมือนการเข้ามารบกวนธรรมชาติ ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าจริง ๆ
ลำน้ำพรม ไหลคดเคี้ยวอยู่ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวทางด้านเหนือ ด้านทิศตะวันออกมีลำห้วยดาดหรือลำโดกเป็นห้วยสายหลักที่ทำให้น้ำพรมตอนล่างจากเขื่อนจุฬาภรณ์ซึ่งผันน้ำลำน้ำพรมเดิมไปผลิตกระแสไฟฟ้า ไหลออกสู่พื้นที่บริเวณลำสุ มีน้ำไหลตลอดปี บนลำน้ำพรมมีลานจันทร์ซึ่งประกอบด้วยลานหิน วังน้ำลึกที่คดเคี้ยว ดูสงบ ร่มรื่น
ลานจันทร์และตาดหินแดง ลานจันทร์มีลักษณะเป็นลานหินกว้างในลำน้ำพรม มีน้ำไหลผ่านตลอดปี เป็นบริเวณร่มรื่นไปด้วยพันธุ์ไม้ใหญ่น้อย เพราะมีป่าดิบขึ้นอยู่รอบ ๆ มีพวกมอส เฟิร์น หวาย พลู และว่านต่าง ๆ หลายชนิด ถ้าเดินเรียบไปตามลำน้ำจะพบหินสีแดง ซึ่งเป็นบริเวณที่เรียกว่า ตาดหินแดง ทั้งลานจันทร์และตาดหินแดง เหมาะสำหรับพักผ่อนร่มรื่นและสวยงาม
บึงแปน มีเนื้อที่ประมาณ 4,000 ไร่ สูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 900 เมตร สภาพภูมิประเทศทุ่งหญ้าคล้ายทุ่งกะมัง แต่มีลักษณะเป็นทุ่งราบเรียบและอยู่ในที่ลุ่มต่ำ มีน้ำเจิ่งนองในฤดูฝน ในฤดูแล้งมีหนองน้ำอยู่กลางทุ่ง บึงแปนตั้งอยู่กลางพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตวป่าภูเขียวค่อนไปทางตะวันตกเฉียงใต้ เป็นบริเวณที่มีสัตว์ป่าชุกชุม สังเกตได้จากมีร่องรอยด่านสัตว์มากมาย
น้ำตกตาดคร้อ เป็นน้ำตกสูงใหญ่อยู่ทางทิศใต้ของทุ่งกะมัง ใกล้กับศูนย์พิทักษ์ป่าภูเขียวที่อำเภอหนองบัวแดง น้ำจากน้ำตกจะไหลลงสู่ลำน้ำสะพุง
น้ำตกห้วยหวาย อยู่ห่างจากบึงแปน 6 กิโลเมตร เป็นน้ำตก 3 ชั้น สูงชั้นละ 20 เมตร ตรงบริเวณช่องเขาขาด อยู่ระหว่างเขาภูน้อย และเขาภูเขียวใหญ่
น้ำตกนาคราช อยู่ระหว่างทางจากศาลาพรมไปทุ่งกะมัง บริเวณกิโลเมตรที่ 11 เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางในป่าอีก 300 เมตร ความกว้างของน้ำตกนาคราชประมาณ 5 เมตร มีความสูงต่างระดับถึง 3 ชั้น ชั้นแรกสูง 14 เมตร ชั้นที่ 2 สูง 10 เมตร ชั้นที่ 3 สูง 6 เมตร บริเวณน้ำตกมีว่านพญานาคราชขึ้นอยู่จำนวนมากจึงตั้งชื่อว่า “น้ำตกนาคราช”
ผาเทวดา เป็นภูเขาหลายเทือกติดต่อกัน ยาวประมาณ 6 กิโลเมตร ยอดผาสูงประมาณ 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ทางทิศตะวันตกและทิศตะวันออกเป็นเทือกเขายาว หินผาเทวดามีสีขาวคล้ายหินปูน มีน้ำไหลผ่านเรียกว่า “ชีผุด” เป็นต้นน้ำของแม่น้ำชี มีความกว้างประมาณ 10-15 เมตร ไหลทะลุออกมาทางทิศใต้ของเขาเทวดาแล้วไหลลงชีใหญ่ที่บ้านโหล่น ลำชีจะไหลจากเหนือไปใต้ สองข้างฝั่งมีลักษณะเป็นหินกรวดก้อนเล็ก ๆ ชีผุดมีน้ำที่ใสมากถึงประมาณ 1 เมตร สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ได้แก่ กระทิง หมี เม่น กวาง และช้างป่า ตรงหุบเหวและเทือกเขาเทวดาเป็นป่าค่อนข้างแน่นทึบเรียกว่า ป่าครอบ มีลำชีไหลผ่านกลางป่าและมุดเข้าไปในเชิงเขาเรียกว่า ชีดั้นและชีผุดมีถึง 3 ชั้น ชีดั้นแห่งแรกคือ เขาถ้ำครอบ ลำน้ำไหลหายเข้าไปในถ้ำประมาณ 500 เมตร แล้วผุดออกไปประมาณ 300 เมตร จึงหายเข้าไปในเขา ไกลถึง 8 กิโลเมตร สุดท้ายหายเข้าไปในเขาไกลอีก 1 กิโลเมตร จึงผุดออกมาที่ทับกกเดื่อซึ่งอยู่ห่างจากบ้านโหล่นประมาณ 10 กิโลเมตร พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่เป็นตะเคียน ยาง พะยอม ไผ่ ไม้พื้นล่างมี หวาย ตาว สัตว์ป่า เช่น ช้าง หมี เสือ กวาง เม่น และมีนกกาฮังอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ในบริเวณป่าครอบนี้มีน้ำตก 7 ชั้นอยู่บนเทือกเขาเทวดา เป็นน้ำตกหินปูนสีขาวไหลลาดลงตามทางยาว แต่ละชั้นสูง 15-20 เมตร รวมทั้งสิ้นสูงประมาณ 200 เมตร กว้างประมาณ 20-25 เมตร
การเข้ามาทัศนศึกษาในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามีสองกรณีคือ หากเข้าชมแบบไป-กลับวันเดียว สามารถขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่บริเวณด่านตรวจปางม่วง ค่าธรรมเนียมในการเข้าชม ผู้ใหญ่คนละ 20 บาท นักเรียนคนละ 10 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท รถยนต์คันละ 30 บาท จักรยานคันละ 10 บาท จักรยานยนต์คันละ 20 บาท รถหกล้อ 100 บาท
กรณีพักค้างแรมต้องทำหนังสือขออนุญาตล่วงหน้า 15–30 วัน ถึง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ตู้ ปณ. 3 ปทจ.ชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น 40130 โทร. 08 4334 0043,08 0199 9212 หรือผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ถนนพหลโยธิน กรุงเทพฯ 10900 สอบถามข้อมูล โทร. 0 2561 4292-3 ต่อ 711
การเดินทาง ไปเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวใช้เส้นทางเดียวกับเขื่อนจุฬาภรณ์ ก่อนถึงเขื่อน 3 กิโลเมตร มีทางเลี้ยวซ้ายจากด่านตรวจ (ปางม่วง) ไปยังที่ทำการเขตฯ อีก 24 กิโลเมตร
จุดชมวิวเทือกเขาพังเหย
เทือกเขาพังเหย อยู่ริมทางหลวงหมายเลข 225 (ชัยภูมิ-นครสวรรค์) ประมาณกิโลเมตรที่ 70 เป็นที่แวะจอดพักรถยนต์และชมทิวทัศน์ข้างทาง
มีร้านขายของท้องถิ่นของชาวชนบท จะเห็นทิวทัศน์ช่วงยามเย็นอาทิตย์อัสดง นอกจากนี้ยังมีเส้นทางเดินเท้าศึกษาธรรมชาติสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีเวลาน้อยได้เดินชมทุ่งบัวสวรรค์ขนาดเล็กๆ และเดินศึกษาธรรมชาติเองอีกด้วย
ที่ตั้ง : ตำบลบ้านเจียง อำเภอภักดีชุมพล ชัยภูมิ 36260
วันเวลาเปิด – ปิด : เปิดให้บริการทุกวัน
ผาเกิ้ง
ผาเกิ้ง เป็นส่วนหนึ่งของภูแลนคา หากเดินทางมาตามเส้นทางชัยภูมิ-หนองบัวแดง จะเห็นหน้าผาสูงริมทางคล้ายพระจันทร์เสี้ยวยื่นออกมา ชาวบ้านจึงเรียกว่า ผาเกิ้ง ซึ่งหมายถึงพระจันทร์ในภาษาอีสาน บนเขามีวัดผาเกิ้งหรือวัดชัยภูมิพิทักษ์ตั้งอยู่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปชัยภูมิพิทักษ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางประทับยืนองค์ใหญ่สูง 14 เมตร ด้านหน้าองค์พระเป็นจุดชมวิวที่สวยงามมองเห็นทัศนียภาพของทุ่งนาได้กว้างไกล นอกจากนี้ในบริเวณวัดยังมีพระบรมธาตุผาเกิ้งและพิพิธภัณฑ์วัตถุโบราณให้นัก ท่องเที่ยวได้ชมด้วย ผาเกิ้งอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 36 กิโลเมตร ริมหลวงหมายเลข 2159 (ชัยภูมิ-หนองบัวแดง)
อุทยานแห่งชาติภูแลนคา ตั้งอยู่ในจังหวัดชัยภูมิ มีเนื้อที่โดยประมาณ 92,500 ไร่ เป็นสภาพพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย และป่าอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 และ 17 มีนาคม พ.ศ.2535 และที่สำคัญเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร ป่าสมบูรณ์ ป่าฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ป่าที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า รวมทั้งเป็นป่าที่คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ คณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้ประจำจังหวัด ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัด องค์กรสิ่งแวดล้อม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ องค์การบริหารส่วนตำบลทุกตำบลที่เกี่ยวข้อง ให้การเห็นชอบและสนับสนุนให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติภูแลนคา โดยอย่างยิ่งพื้นที่ป่าอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำและลำห้วยต่างๆ ที่ไหลรวมกันเป็นลุ่มน้ำและไหลกันเป็นแม่น้ำชี เดิมเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ป่าภูแลนคาด้านทิศเหนือและป่าภูแลนคาด้านทิศใต้
อุทยานแห่งชาติภูแลนคา มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายหลายที่ด้วยกันในอดีต เคยเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางการทหาร (ประวัติทางการสู้รบ) และประวัติศาสตร์ของศาลปู่ด้วง (บุคคลทรงศีล) จุดเด่นที่น่าสนใจ ได้แก่ ตาดหินลาดตาดโตนน้อย ภูคำน้อย ภูกลาง ภูดี ผาเกิ้ง ผาเพ ผากล้วยไม้ ถ้ำเกลือ ถ้ำพระ แม่น้ำชี ลาดหินแตก เทพบูชา ประตูโขลง ทุ่งดอกกระเจียวอุทยานแห่งชาติภูแลนคา เหมาะสมที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยวตลอดทั้งปี
วัดอรุณธรรมสถาน พระธาตุชัยภูมิ
อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ
เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมในการดำริของ
พระธรรมสิริชัย เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
รูปที่ 13 ดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปี
พุทธศักราช 2550 บนเนื้อที่กว่า 200 ไร่
ซึ่งศูนย์ปฏิบัติธรรมแห่งนี้ยังเป็นสถานที่
ประดิษฐาน พระมหาธาตุเจดีย์สิริชัยภูมิ ที่ถูกสร้างขึ้นตามแบบแผนการสร้างพระเจดีย์
แบบโบราณ โดยมีเค้าโครงจากการผสมผสาน ระหว่างศิลปะล้านช้าง กับล้านนา ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงปราสาท เรือนยอด มีซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปยืน
ศิลปะแบบล้านช้างความสูงของเจดีย์จากฐาน
ถึงยอด 21 เมตร โดยเจตนาในการสร้างพระมหาธาตุเจดีย์สิริชัยภูมินี้ เพื่อต้องการให้เป็นศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของ
จ.ชัยภูมิ เนื่องจากตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา
แม้ว่า จ.ชัยภูมิจะมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ตั้งแต่สมัยทวารวดี ขอม อยุธยา ล้านช้าง และรัตนโกสินทร์ แต่ยังขาดรูปแบบศิลปกรรมที่ชัดเจน
ทั้งนี้ สถานที่ตั้งของศูนย์ปฏิบัติธรรมอรุณธรรมสถาน ที่อยู่ในเส้นทางท่องเที่ยวของจ.ชัยภูมิ คือเส้นทางที่จะเดินทางไปมอหินขาว และน้ำตกตาดโตน ทั้งยังเป็นพื้นที่ที่สามารถปลูกพืชผลทางการเกษตร ที่สำคัญยังเป็นสถานที่ประดิษฐานของพระมหาธาตุเจดีย์สิริชัยภูมิ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น