ประชาชนในจังหวัดชัยภูมิ ประมาณร้อยละ 95 เป็นคนท้องถิ่นเดิม มีวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งมีลักษณะผสมผสาน ระหว่างความเชื่อดั้งเดิมของท้องถิ่น กับหลักปฏิบัติทางพุทธศาสนา ประกอบกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของจังหวัด มีลักษณะเด่นชัด ที่เน้นและเชิดชูวีรกรรม ความซื่อสัตย์ กตัญญู ของเจ้าพ่อพระยาแล ทำให้มีงานประจำ และงานประเพณี ซึ่งแสดงถึงวัฒนธรรมของจังหวัดดังต่อไปนี้
จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของเจ้าพ่อพระยาแลผู้สร้างเมืองชัยภูมิคน แรก จัดระหว่างวันที่ 12-20 มกราคมของทุกปี ที่บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัด และสี่แยกอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาแล ในการจัดงานนี้ประกอบด้วย พิธีบวงสรวงดวงวิญญาณของเจ้าพ่อพระยาแล ขบวนแห่สักการะอนุสาวรีย์เจ้าพ่อ ขบวนถวายช้างแด่เจ้าพ่อ และขบวนแห่ของอำเภอต่างๆ รวมทั้งการออกร้าน จัดนิทรรศการของหน่วยราชการและเอกชน การประกวดผลิตผลทางการเกษตร
งานประเพณีบวงสรวงเจ้าพ่อพระยาแล
ที่บริเวณศาลหนองปลาเฒ่า จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-20 พฤษภาคม ของทุกปี ชาวบ้านจะไปเคารพสักการะดวงวิญญาณของเจ้าพ่อ และรำถวายเจ้าพ่อที่ศาลหลังเก่ากันเป็นจำนวนมาก
งานแห่เทียนเข้าพรรษา
เป็นงานที่เทศบาลเมืองชัยภูมิจัดขึ้นทุกปี ประมาณเดือนกรกฎาคม มีการประกวดเทียนพรรษาที่ประดิษฐ์อย่างสวยงาม มีงานประเพณีอื่นๆ ที่จัดเป็นประจำทุกปี
งานบุญบั้งไฟ
“บุญบั้งไฟ” เป็นที่นิยมทำกันในเดือนหก (ประมาณเดือนพฤษภาคม)
เป็นการบูชาพญาแถนและเป็นประเพณีทำบุญขอฝน เพื่อให้ฝนต้องตามฤดูกาล
ส่วนมากยังคงปฏิบัติกันอยู่มากเนื่องจากเชื่อกันว่าหากปีใดงดงานบุญบั้งไฟจะทำให้ท้องถิ่นของตนเกิดเภทภัยต่าง
ๆ เช่น ฝนแล้ง หากทำบุญดังกล่าวแล้วก็เชื่อว่าฝนฟ้าจะตกต้องตามฤดูกาล
ชาวบ้านจะอยู่เย็นเป็นสุข ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ ทั้งปราศจากโรคภัยอีกด้วย
การทำบุญบั้งไฟเริ่มต้นแต่มีใบฎีกาบอกบุญไปยังหมู่บ้านหรือคุ้มวัดต่าง
ๆ
แล้วแต่ละคุ้มวัดจะช่วยกันทำบั้งไฟซึ่งต้องใช้ดินปืนเป็นส่วนผสมสำคัญเพื่อเป็นแรงส่งให้บั้งไฟขึ้นไปสู่ท้องฟ้าได้
จากนั้นก็มีการตกแต่งบั้งไฟให้สวยงามด้วยกระดาษสีเป็นลายไทย ส่วนใหญ่เป็นรูปพญานาคเพราะเข้ากับรูปพรรณสัณฐานของบั้งไฟ
พอได้เวลาก็ช่วยกันแห่แหนบั้งไฟไปที่วัด
ในขบวนมีการเซิ้งและการฟ้อนพื้นบ้านเป็นที่สนุกสนานครึกครื้น
ในงานมักจะมีการบวชนาคพร้อมกันไปด้วย ก่อนบวชมีการฟังพระสวดและถวายภัตตาหารเพล
จากนั้นจึงมีการจุดบั้งไฟมากก็จะมีการแข่งขันจุดบั้งไฟอย่างสนุกสนาน
ผู้ใดแพ้จะถูกโยนลงโคลน เวลากลางคืนนอกจากจะมีมหรสพพื้นบ้านทั่วไปแล้ว
ยังนิยมการแข่งขันตีกลองเอาเสียงดังแข่งกัน เรียงว่า “กลองเส็ง”
งานบุญบั้งไฟนี้หลายท้องถิ่นในภาคอีสทนยังคงถือเป็นงานประเพณีประจำปีที่สำคัญมาก
พอใกล้วันงานชาวอีสานไม่ว่าไปอยู่แห่งหนตำบลใดก็จะกลับบ้านเพื่อไปร่วมงานบุญบั้งไฟอันเป็นงานที่สร้างความรักความสามัคคีของคนท้องถิ่นเป็นอย่างดี
นอกจากนี้แล้ว ในวันเพ็ญเดือนหก
ชาวอีสานยังนิยมทำ “บุญวันวิสาขบูชา” ได้แก่การตักบาตร ฟังเทศน์ในตอนเช้า
และเวียนเทียนที่วัดหรือปูชนียสถานที่สำคัญของท้องถิ่นในตอนค่ำและในบางแห่งยังคงมีการสรงน้ำพระพุทธรูปซึ่งเป็นการสรงต่อเนื่องมาจากพิธีตรุษสงกรานต์
ประเพณีแห่นาคโหด
ประเพณีแห่นาคโหด ที่บ้านโนนเสลาถือเป็นประเพณีโบราณและปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาหลายร้อยปีหลายชั่วคนที่มีแห่งเดียวในโลก เพื่อที่ชาวบ้านจะได้มาร่วมกันจัดงานอุปสมบทหมู่ให้กับคนหนุ่มบุตรหลานในหมู่บ้านที่มีอายุครบ 20 ปี ถือเป็นวันขึ้น 1 ค่ำ แรม 15 ค่ำ ของเดือนหกเป็นประจำทุกปี
เพื่อให้ลูกหลานได้บวชแทนคุณบิดามารดา ด้วยความตั้งใจของผู้ประสงค์จะบวชเอง ซึ่งจะมีการเตรียมตัวมาตั้งแต่เดือนสี่ ผู้เป็นบิดาจะพาบุตรชายไปฝากไว้กับเจ้าอาวาส ใน 2 วัดของหมู่บ้านโนนเสลา คือวัดบุญถนอมพัฒนาราม(วัดนอก) และวัดตาแขก(วัดใน) เพื่อถือขัน 5 ประกอบด้วยเทียน 5 คู่ ดอกไม้ 5 คู่ ไปฝากตัวเป็นนาคปฏิบัติธรรมถือศีล 8 อยู่ที่วัด เรียนรู้บทสวดที่จะบวช และเรียนรู้พระธรรมวินัยเบื้องต้น ก่อนถึงกำหนดวันบวชของประเพณีงานบุญเดือนหก
ซึ่งถือว่าวันแห่นาคโหด จะเป็นวันสำคัญในการที่ประชาชนทุกคนในหมู่บ้านจะต้องออกมามีร่วมรวมแห่นาคเข้าวัด ที่เป็นตำนานของประเพณีแห่นาคแบบแปลกประหลาดและโหดที่สุด ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านาน โดยจะใช้คนหนุ่มที่ยังไม่ได้บวชของแต่ละหมู่บ้านที่มีรุ่นพี่บวช มาช่วยกันหามแข้ไม้ไผ่ แห่นาคไปรอบหมู่บ้าน และเขย่า โยนนาค อย่างรุนแรง เพื่อความสนุกสนาน และถือเป็นการทดสอบความตั้งใจว่าผู้บวชจะมีความมุ่งมั่นอดทนจริงจังที่จะบวชแทนคุณบิดามารดา หรือไม่ ที่จะต้องประคองตัวเองคือผู้ที่จะบวชไม่ให้ตกลงมาจากแข้ไม้ไผ่หามให้ได้ เพราะถ้าใครตกลงมาถูกพื้นดินจะถือว่าขาดคุณสมบัติไม่ให้บวช ในตลอดระยะเส้นทางแห่รอบหมู่บ้านก่อนเข้าวัดทำพิธีบวช ระยะทางกว่า 3 กิโลเมตรให้ได้
ซึ่งตั้งแต่ที่มีการปฏิบัติสืบทอดกันมาอย่างจริงจังมากขึ้นตั้งแต่ปี 2514 มาจนวันนี้ ถือว่ายังไม่มีผู้ใดที่ตกลงมาถูกดินและสามารถเข้าพิธีบวชได้ทุกราย ถึงแม้จะมีการได้รับบาดเจ็บถึงขั้นศรีษะแตกและแขนหลุดบ้างก็มี
หลวงพ่อจำปี สุจินโน เจ้าอาวาสวัดตาแขก กล่าวว่า ประเพณีแห่นาคโหด ชาวบ้านโนนเสลาถือเป็นงานประจำปีปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านาน ซึ่งผู้บวชเองที่เข้าร่วมพิธีเอง ถือว่าถ้าไม่โหดก็ไม่บวช และทาง อบต.หนองตูม เองก็เข้ามาช่วยส่งเสริมก็ถือเป็นเรื่องที่ดีที่ชาวบ้านเห็นร่วมกัน
ด้านนางกองเวิน เข็มภูเขียว วัย 63 ปี ราษฎรอาวุโสที่ชาวบ้านโนนเสลา ให้ความเคารพจำนวนมาก กล่าวว่า การแห่นาคโหด ตั้งแต่เกิดมาก็เห็นประเพณีนี้แล้ว ซึ่งปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ถือกันว่าถ้าแห่นาคไม่โหดก็จะไม่บวชกัน เป็นอย่างนี้มาตลอดทุกปีช่วงเทศกาลอุปสมบทหมู่ประจำหมู่บ้านในเดือนหก ของทุกปี
ซึ่งถือว่าคนรุ่นหนุ่มสมัยอดีต จะเป็นการปฏิบัติต่อกันรุ่นต่อรุ่นนั้นรุ่นนี้แห่กัน คนหามโหด เมื่อมาเจอคิวบวชของตนเองรุ่นน้องก็โหดต่อกันมาเรื่อยๆเป็นรุ่นๆกันไป ตามประสาคนหนุ่มในหมู่บ้านขณะที่นายสนิท ศรีบุดดา ไวยาวัจกรวัดตาแขก กล่าวว่า การจัดอุปสมบทหมู่ของหมู่บ้านจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี หรือแห่นาคโหด ถือว่าเป็นการสะท้อนถึงความอดทน กลั้นของผู้ที่จะเข้าบวชแทนคุณบิดามารดาที่ให้กำเนิดมา และชาวบ้านที่นี่อยากให้ช่วยกันอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังสืบทอดต่อไป เป็นประจำทุกปี ซึ่งอาจจะมีการมองว่ามีความรุนแรง แต่ชาวบ้านคนหนุ่มที่นี่ กลับมองว่าเพื่อการแสดงถึงความกตัญญูกตเวที ต่อบิดามารดา การได้รู้จักการอดกลั้นความตั้งใจของผู้บวชเองมากกว่า
ด้านนายธาดา รัตนาธิวัฒน์ นายก อบต.หนองตูม เปิดเผยว่า การส่งเสริมอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามแห่นาคโหด อบต.ตั้งบประมาณไว้ส่งเสริมิย่างต่อเนื่องอย่างเต็มที่ทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นประเพณีเก่าแก่แต่โบราณของคนที่นี่ และถือว่าจะเป็นจุดส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดชัยภูมิ ที่มีแห่งเดียวในโลกก็ว่าได้
ซึ่งเรามีหน้าที่บำรุงพระพุทธศาสนา และการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ทั้งหมดช่วยกันเตรียมงานมาต่อเนื่องนับเดือนเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ลูกหลานคนในชุมชนได้ปฏิบัติตนในสิ่งงามก่อนเข้าวัด และการแห่นาคโหดที่ชาวบ้านจะพากันเขย่าหามนาคอย่างแรงนั้น เพื่อที่จะทำให้นาคนึกถึงความอดทน เข้มแข็ง และจะสามารถบวชสืบทอดพระพุทธศาสนาโดยผ่านอุปศักดิ์ไปด้วยดีได้
พระยาแล คือผู้สร้างเมืองชัยภูมิ
ช่วงเวลา ระหว่างวันที่ ๑๒-๒๐ มกราคม ของทุกปี
·ลักษณะความเชื่อ
ประชาชนในจังหวัดชัยภูมิ ประมาณร้อยละ ๙๕ เป็นคนท้องถิ่นเดิมมีวัฒนธรรมประเพณีที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างความเชื่อ ดั้งเดิมของท้องถิ่นกับหลักปฏิบัติทางพุทธศาสนา ประกอบกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของจังหวัด มีลักษณะเด่นชัดที่เน้นและเชิดชูวีรกรรมความซื่อสัตย์กตัญญูของเจ้าพ่อพระยา แล ทำให้มีงานประจำปีและงานประเพณีซึ่งแสดงถึงวัฒนธรรมของจังหวัดสืบต่อกันมา
·ความสำคัญ
จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของเจ้าพ่อพระยาแล ผู้สร้างเมืองชัยภูมิคนแรก
·พิธีกรรม
จัดในช่วงเวลา ระหว่างวันที่ ๑๒-๒๐ มกราคมของทุกปี ในการจัดงานนี้ประกอบด้วยพิธีบวงสรวงดวงวิญญาณของเจ้าพ่อพระยาแล ขบวนแห่เครื่องสักการะอนุสาวรีย์เจ้าพ่อ ขบวนถวายช้างแด่เจ้าพ่อ และขบวนแห่ของอำเภอต่าง ๆ รวมทั้งการออกร้าน จัดนิทรรศการของหน่วยงานราชการและเอกชน การประกวดผลิตผลทางการเกษตร
·สาระ เป็นการเชิดชูวีรกรรมความซื่อสัตย์กตัญญูของเจ้าพ่อพระยาแล
บุญเผวส
หลายคนคงจะสงสัยอยู่ว่าคำว่า "ผะเหวด" มีความหมายอย่างไร คำว่า "ผะเหวด" นั้นเป็นการออกเสียงตามสำเนียงอีสาน มาจากคำว่า "พระเวส" หมายถึงพระเวสสันดร งานบุญผะเหวดเป็น 1 ในประเพณี 12 เดือน หรือ ฮีตสิบสอง ของชาวอีสาน (การทำบุญประเพณี 12 เดือน) โดยพระเพณีนี้จะจัดขึ้นในเดือนที่ 4 ของไทยหรือเดือนมีนาคม โดยกำหนดจัดงานในวันเสาร์และอาทิตย์แรกของเดือนมีนาคมทุกปี
ประเพณีบุญผะเหวดหรือบุญเดือนสี่นั้น สะท้อนให้เห็นถึง ความศรัทธาอันแรงกล้าในพระพุทธศาสนา ซึ่งชาวอีสานยึดถือและปฏิบัติกันมาช้านานและอย่างเคร่งครัด เพราะถือว่าเป็นงานบุญใหญ่ที่สุดก็ว่าได้
การจัดงานบุญผะเหวดนั้นอยู่ที่การเทศน์เรื่องพระเวสสันดรชาดกหรือเทศน์มหาชาติ มีจำนวนทั้งหมด 13 กัณฑ์ โดยชาวอีสานมีความเชื่อว่าถ้าหากว่าฟังเทศน์ครบทั้งหมดวันเดียว และจัดเตรียมเครื่องคาย (บูชา) ได้ถูกต้อง ก็จะได้เกิดในศาสนาพระอริยเมตไตรย แต่ถ้าหากตั้งเครื่องคาย (บูชา) ไม่ถูกต้อง จะทำให้เกิดอาเพศและสิ่งไม่ดีต่างๆ ตามมา จึงทำให้ทุกคนในหมู่บ้าน ให้ความสำคัญกับงานนี้อย่างมาก โดยจะมาทำพิธีร่วมกันอีกประการหนึ่ง คือ เพื่อระลึกถึงพระเวสสันดร พระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญเพียรบารมีชาติสุดท้ายของพระองค์ก่อนจะเสวยชาติ และตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภายหลัง
นอกจากการฟังเทศน์มหาชาติแล้ว ประเพณีนี้ยังได้แฝงความเชื่อหลายประการไว้ด้วย คือ ความเชื่อในเรื่องพระอุปคุต อันเป็นพระผู้รักษาพิธีต่างๆ ให้ดำเนินไปอย่างราบรื่นตังแต่ต้นจนจบ โดยเชื่อกันว่าในการทำบุญแต่ละครั้งจะมีมารเข้ามาขัดขวางทำลายพิธี ชาวพุทธจึงต้องนิมนต์พระอุปคุตมาร่วมพิธีด้วย เพื่อช่วยขจัดอันตรายต่างๆ และเกิดความสวัสดิมงคลอีกด้วยการนิมนต์พระอุปคุตจะเริ่มทำก่อนวันเทศน์มหาชาติหนึ่งวัน เรียกว่า "มื้อโฮม (วันสุกดิบ)" ในตอนบ่ายจะทำพิธีแห่พระเวสส์ (พระเวสสันดร) เข้าเมือง
หลังจากนั้นจะนิมนต์พระอุปคุตมาสถิต ณ บริเวณพิธี โดยมีขบวานแห่ดอกไม้ ธูป เทียน ขันห้าหรือขันแปด ไปยังสระน้ำที่อยู่ใกล้ๆ แล้วผู้อาวุโสจะหยิบก้อนหินจากสระน้ำถาม 3 ครั้ง ก่อนจะนำหินมาสถิตๆ ไว้ยัง "หอพระอุปคุต" (สมมุติว่าหินนั้นเป็นพระอุปคุต) โดยกำหนดหอพระอุปคุตเป็นศาลเพียงตา หรือทำหิ้งบูชาอยู่ในมณฑลพิธี ซึ่งจะมีเครื่องบูชาต่างๆ ได้แก่ บาตรพระ, ขันห้าหรือขันแปด, ผ้าไตรจีวร, พานหมากและพานยาสูบ, ร่มกางกันแดด, น้ำดื่มและกระโถน วางไว้
ประเพณีวันลอยกระทง
วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย
ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา มักจะตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติบางปีเทศกาลลอยกระทงก็จะมาตรงกับเดือนตุลาคมด้วยเช่นปีพ.ศ.2544วันลอยกระทงปีนั้นตรงกับวันที่31ตุลาคมและจะมาตรงกันอีกครั้งในปีพ.ศ. 2563 ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคาบางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานทีและบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวกสำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำลำคลองหรือแหล่งน้ำต่าง ๆ
ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไปนอกจากนี้บางประเทศก็มีเทศกาลลอยกระทงด้วยเช่นประเทศลาวมักจะลอยกระทงในวันออกพรรษา(ขึ้น15ค่ำเดือน11)ในงานไหลเฮือไฟของลาวประเทศกัมพูชา มีการลอยกระทง
2 ครั้ง คือลอยกระทงของหลวงกลางเดือน 11 ส่วนราษฎรทำกระทงเล็กและบรรจุอาหารไปด้วย
ส่วนกลางเดือน 12 จะมีกระทงของหลวงเป็นกระทงใหญ่
ราษฎรจะไม่ได้ทำและกระทงนี้จะมีอาหารบรรจุลงไปด้วย
โดยมีคติว่าเพื่อส่งส่วนบุญไปให้เปรต เทศกาลน้ำจะมีการเฉลิมฉลองด้วยการแข่งเรือยาว
การแสดงพุลดอกไม้ไฟ จัดขึ้นทุกปีตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ จนถึงแรม 1 ค่ำ เดือนพฤศจิกายน ประเทศเมียนมาร์ ในวันลอยกระทง
ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" ตกแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล
ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป
นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคา
ตีคลีไฟ จังหวัดชัยภูมิ
ตีคลีไฟ เป็นการละเล่นกีฬาโบราณแข่งตีคลี ของชาวชัยภูมิ ที่สืบเนื่องต่อกัน
มาจนกลายมาเป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์และน่าภูมิใจของชาวชัยภูมิ เนื่องจาก
ตีคลีไฟของชาวชัยภูมิ มีแห่งเดียวในประเทศไทย
![](https://www.remawadee.com/chaiyapoom/images/remawadee-fireki1.jpg)
![](https://www.remawadee.com/chaiyapoom/images/remawadee-fireki5.jpg)
ลูกคลีไฟทำจากไม้นุ่น ลูกเท่ากับลูกมะพร้าว(ขนาดกลาง)
จากในสมัยก่อนการเดินทางไปอาบน้ำหลังจากไปทำนา ทำไร่มาแล้ว มีการเล่นกัน
ระหว่างทาง ซึ่งอากาศในพื้นที่แถบนั้น มีอากาศหนาวเย็น จึงมีการก่อกองไฟไว้เพื่อ
ได้ไออุ่น ด้วยความบังเอิญเตะกันไปเตะกันมาเข้าไปในกองไฟ ทำให้ลูกคลีติดไฟ
แต่ก็เล่นกันต่ออย่างสนุกสนาน ต่อมาได้รับการแพร่หลายและพัฒนามาเป็นกิจกรรม
ประเพณีที่นำมาเล่นในช่วงงานบุญออกพรรษา ตีคลีไฟ จังหวัดชัยภูมิ จัดขึ้นหลังออกพรรษาของทุกปี ภายในงานมี การละเล่น
กีฬาโบราณแข่งตีคลีไฟ การออกร้านตามแบบวิถีชุมชน มีสินค้าหัตถกรรม เช่น
การทอผ้า การทอเสื่อ เป็นต้น สินค้าเกษตรพื้นบ้าน ผัก ผลไม้ รวมถึงอาหารการกิน
และก่อนการแข่งขันตีคลีไฟ ก็จะมีการแสดงแสงสีเสียงเกี่ยวกับความเป็นมาของ
ประเพณีการตีคลีไฟ
คุณกำลังมองหา บริษัท เงินกู้ทางการเงินที่แท้จริงเพื่อจัดหาเงินกู้ 10,000 ยูโรถึง 10,000,000 ยูโร (สำหรับสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์หรือธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลสินเชื่อส่วนบุคคลสินเชื่อจำนองสินเชื่อรถยนต์สินเชื่อรวมหนี้เงินกู้ร่วมทุนสินเชื่อเพื่อสุขภาพเป็นต้น ))
ตอบลบหรือเขาถูกปฏิเสธเงินกู้จากธนาคารหรือสถาบันการเงินไม่ว่าด้วยเหตุผลใด?
สมัครตอนนี้และรับเงินกู้ทางการเงินที่แท้จริง ดำเนินการและอนุมัติใน 3 วัน
PACIFIC FINANCIAL LOAN FIRM เราเป็นผู้ให้กู้เงินกู้ระหว่างประเทศที่ให้บริการทางการเงินที่แท้จริงแก่บุคคลและ บริษัท ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ 2% พร้อมบัตรประจำตัวที่ถูกต้องหรือหนังสือเดินทางระหว่างประเทศของประเทศของคุณเพื่อการตรวจสอบการชำระคืนเงินกู้เริ่มต้นที่ 1 (หนึ่ง) ปีหลังจากนั้น ได้รับเงินกู้และระยะเวลาชำระคืนคือ 3 ถึง 35 ปี
สำหรับการตอบกลับในทันทีและดำเนินการกับใบสมัครของคุณสำหรับชายแดนภายใน 2 วันทำการ
ติดต่อเราโดยตรงทางอีเมลนี้: pacificfinancialloanfirm@gmail.com
ติดต่อเราด้วยข้อมูลต่อไปนี้:
ชื่อเต็ม: ____________________________
จำนวนเงินที่ต้องการเป็นเงินกู้: ________________
ระยะเครดิต: _________________________
วัตถุประสงค์ของการกู้ยืม: ______________________
วันเกิด: ___________________________
เพศ: _______________________________
สถานะการสมรส: __________________________
ที่อยู่ติดต่อ: _______________________
เมือง / รหัสไปรษณีย์: __________________________
ประเทศ: _______________________________
อาชีพ: ____________________________
โทรศัพท์มือถือ: __________________________
ส่งคำขอของคุณสำหรับการตอบกลับทันทีไปที่: pacificfinancialloanfirm@gmail.com
ขอบคุณ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารนางวิกตอเรียจอห์นสัน